RSS

Monthly Archives: กุมภาพันธ์ 2016

ความประทับใจในรั้ว AMC

กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

line-anime-01

้้้้333333333333333333333333333333333333333

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 29, 2016 นิ้ว ไม่มีหมวดหมู่

 

ความประทับใจในรั้ว A.M.C

ดีใจที่ได้เรียนที่นี้ เป็นเวลา 6 ปีแล้วรักและศัทราในสถาบันแห่งนี้………..

 

A15

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 26, 2016 นิ้ว ไม่มีหมวดหมู่

 

ตัวอย่างการสร้างและออกแบบสิ่งของเครื่องใช้

การออกแบบชั้นวางของด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การออกแบบชั้นวางของแบบแขวน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 17, 2016 นิ้ว ไม่มีหมวดหมู่

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้

มาตรฐาน ง2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

มาตรฐาน ง 2.1 ม.3/1 อธิบายระดับของเทคโนโลยี

มาตรฐาน ง 3.1เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

  1. สาระสำคัญ

2.1 เทคโนโลยีเป็นกระบวนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ และระบบความรู้ ความเข้าใจต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของมนุษย์

2.2 เทคโนโลยีมีหลายระดับจะต้องเลือกใช้อย่างชาญฉลาด และเหมาะสมตามหลักการเลือกใช้เทคโนโลยี

2.3 กระบวนการเทคโนโลยีประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ในการแก้ปัญหา ช่วยให้ทำงานอย่าง เป็นระบบ มีลำดับขั้นตอน และเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการออกแบบเทคโนโลยี

2.4 การสร้างชิ้นงานป้ายอัจฉริยะจะต้องปฏิบัติตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉาย เพื่อนำไปสร้างเป็นต้นแบบชิ้นงาน

2.5 การออกแบบเทคโนโลยีต้องใช้ระดับของเทคโนโลยีสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉาย เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบและแบบจำลองของสิ่งของเครื่องใช้ หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผล

กำหนดการสอน

สัปดาห์ที่ คาบที่ เนื้อหา/หัวข้อ จุดประสงค์การเรียนรู้
1 1-2 ความหมายและประโยชน์ของเทคโนโลยี 1. นักเรียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของเทคโนโลยีได้
2 3-4 องค์ประกอบของระบบสารสนเทคโนโลยี

 

1. อธิบายองค์ประกอบของเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

2. สามารถแยกแยะองค์ประกอบของเทคโนโลยีได้ถูกต้อง

3. นักเรียนรู้จักหน้าที่และวิธีการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง

3 5-6 ระดับของเทคโนโลยี และการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด 1. อธิบายระดับเทคโนโลยีได้

2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

3.เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์

4 7-8 การสร้างสิ่งของเครื่องใช้  ด้วยกระบวนการเทคโนโลยี 1. อธิบายองค์ประกอบของกระบวนการเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กระบวนการเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

3. อธิบายกระบวนการออกแบบเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

4. สามารถออกแบบชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยีได้

5 9-10 ตัวอย่างการสร้างสิ่งของเครื่องใช้    ด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

 

 

การวัดผลประเมินผล

วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงาน ใบงาน 1 ความหมายและประโยชน์ของเทคโนโลยี

ใบงาน 2 องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยี

ใบงาน 3วิวัฒนาการและระดับของเทคโนโลยี

ใบงาน4การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

ใบงาน 5ตัวอย่างการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
การตอบคำถาม กระทู้คำถามในแต่ละสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คำถาม ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สังเกตความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่น
ในการทำงาน
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน  – หลังเรียน (ประเมินตามสภาพจริง)
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2016 นิ้ว คำแนะนำ, ไม่มีหมวดหมู่

 

คำแนะนำการใช้บทเรียน

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน เป็นบทเรียนที่นักเรียน  ใช้ศึกษาด้วยความสามารถของนักเรียนเอง  ขอให้นักเรียนอ่านคำแนะนำ  และทำตามคำแนะนำแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบแล้วนักเรียนจะได้รับความรู้อย่างครบถ้วน  ขอให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การทดสอบขั้นนี้เป็นการวัดความรู้เดิมของนักเรียน ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ไม่ควรเดาเพราะคะแนนที่ได้บอกเพียงว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความรู้เท่าใด  เท่านั้นเอง
2. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้
3. ศึกษาเกณฑ์การวัดผล/การส่งงาน
4.  ศึกษาบทเรียนตามหัวข้อขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
5.  ศึกษาบทเรียนตามหัวข้อขั้นสอน
6.  ศึกษาบทเรียนตามหัวข้อขั้นสรุป
7.  ศึกษาบทเรียนตามหัวข้อขั้นฝึกฝน
8.  ศึกษาบทเรียนตามหัวข้อขั้นนำไปใช้
9.  ทำแบบทดสอบหลังเรียน
การทดสอบหลังเรียนเป็นการวัดความเข้าใจบทเรียนทั้งหมด  นักเรียนต้องตั้งใจและพยายามทำจนสุดความสามารถ  เพราะการสอบครั้งนี้จะทำให้นักเรียนทราบว่านักเรียนได้เรียนรู้บทเรียนทั้งหมดหรือไม่  ถ้านักเรียนได้คะแนนต่ำกว่าที่กำหนด ขอให้นักเรียนทำการศึกษาบทเรียนใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ
10. ศึกษาแหล่งเรียนรู้

ค.คุณครู

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2016 นิ้ว คำแนะนำ

 

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการทางเทคโนโลยี(Technological Process).
กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process). คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว

1

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่ว่าเราจะทำงานใดก็ตาม ปัญหาเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ปัญหามีหลายวิธี ขึ้นกับชนิดของาน วิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอาจแก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ และการแก้ปัญหาอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น จึงควรยึดหลักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เสียเวลา หลงทาง และสับสน วิธีการแก้ปัญหาแต่ละวิธีมีความเหมาะสมกับงานแตกต่างกันไป ก่อนที่จะใช้วิธีแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จะขอยกวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนโดยทั้วไป มาให้พิจารณาดูจำนวนหนึ่ง
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนมากจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถทำซ้ำได้ง่ายในกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีคล้ายกับการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมมาก แต่ในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช้เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหได้ทุกเรื่อง
นอกจากนี้ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า ต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน จัดหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งซากและมีปริมาณงานมากหรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้ วิธีการโดยทั่วไปคือ ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิม มาใช้ระบบงานที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำงานเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้

 

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 15, 2016 นิ้ว ไม่มีหมวดหมู่

 

การถ่ายทอดความคิด

การถ่ายทอดความคิดเป็นวิธีการ

การถ่ายทอดความคิดที่เป็นวิธีการ เป็นการถ่ายทอดความคิดที่เป็นวิธีการหรือลำดับขั้นตอนที่ไม่เป็นชิ้นงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งการถ่ายทอดความคิดมีหลายรูปแบบ เช่น ภาพร่าง 2 มิติ ภาพร่าง 3 มิติ ผังงาน แบบจำลองความคิด

  1. ภาพร่าง 2 มิติ

เป็นภาพที่ถ่ายทอดแนวคิดหรือวิธีการแก้ปัญหาเพียง 2 มิติ ประกอบด้วยด้านกว้างและ    ด้านยาว

6

ภาพร่าง 2 มิติ

  1. ภาพร่าง 3 มิติ

เป็นภาพที่นำเสนอรายละเอียดของแนวคิดของวิธีการแก้ปัญหาเป็น 3 มิติ ประกอบด้วยด้านกว้าง ด้านยาว และความสูงหรือความลึก

7

ภาพร่าง 3 มิติ

  1. ผังงาน (Flowchart)

เป็นรูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด เนื่องจากการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจ ตรงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องด้วยคำพูดหรือข้อความทำได้ยาก จึงมีการนำผังงานมาใช้ ซึ่งสัญลักษณ์โดยทั่วไปที่ใช้สำหรับการเขียนผังงานมีดังนี้

สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน)

ผังงาน (Flowchart) ต้องมีจุดเริ่มต้น (Start) และจุดสิ้นสุด (End)หลักการนำสัญลักษณ์ Flowchart ต่างๆ มาเขียนผังงาน

7-14-2014-9-24-33-pm

วิธีใช้เขียนผังงาน

  1. สัญลักษณ์แต่ละรูปจะถูกเชื่อมต่อด้วยทิศทางการทำงาน (Direction Flow) เพื่อบอกว่าเมื่อทำงานนี้เสร็จต้องไปทำงานไหนต่อไป
  2. การทำงานจะต้องเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้น (Start) และจบที่จุดสิ้นสุด (End) เท่านั้น

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ Flowchart ในการเขียนผังงานระบบ

Choices-006-164990937

แผนผังการมาโรงเรียน

อาบน้ำ  เมื่อนักเรียนอาบน้ำเสร็จทานข้าว  ถ้าไม่ทานพ่อไปส่งที่โรงเรียนแต่ถ้าทานนักเรียนก็จะเดินไปโรงเรียน

ตัวอย่างการเขียนผังงานการลาป่วย

flowchart-sickleave

อธิบายผังงานลาป่วย

  1. เริ่มต้น – Start
  2. ไปทำงาน – Process
  3. ฉันป่วยหรือไม่ ? – Decision ถ้าไม่ป่วยก็จบเลย – False
  4. ใช่ ฉันป่วย – True
  5. กรอกใบลาป่วย – Process
  6. ส่งอีเมล์ให้หัวหน้า – Process
  7. นอนพักผ่อน – Process
  8. จบ – End

 

 
 

การถ่ายทอดความคิด

การถ่ายทอดความคิด เป็นการถ่ายทอดแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการให้เป็นรูปธรรม เพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ภาพฉาย
  • แบบจำลอง
  • ต้นแบบ
  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นวิธีการ
  • ภาพร่าง 2 มิติ
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ผังงาน
  • แบบจำลองความคิด

 

การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน

การถ่ายทอดความคิดที่เป็นชิ้นงาน เป็นการอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะของรูปร่าง รูปทรง รายละเอียดและส่วนประกอบของชิ้นงาน ซึ่งการถ่ายทอดความคิดลักษณะนี้ทำได้หลายวิธี ได้แก่ ภาพร่าง 3 มิติ ภาพฉาย แบบจำลอง และต้นแบบ

  1. ภาพร่าง 3 มิติ  

ภาพร่าง 3 มิติ เป็นภาพที่ประกอบด้วย ด้านกว้าง ด้านยาว และความสูง หรือ ความลึก ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของรูปร่าง รูปทรง การทำงานและกลไกภายในการเขียนภาพร่าง 3 มิติ ที่นิยมใช้มี  2  รูปแบบ ดังนี้

  • แบบออบลิค (Oblique)เป็นภาพร่าง 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างด้านหน้าเป็นแนวตรง มีฐานของภาพขนานกับแนวเส้นระดับ สามารถวัดขนาดได้ ส่วนความสูงหรือลึก จะทำมุม 45 องศากับเส้นระดับ ซึ่งการวาดภาพออบลิกนี้จะเริ่มต้นด้วยการร่างภาพ 2 มิติ ที่ขนานกับแนวเส้นระดับก่อน

1.pngตัวอย่างภาพ Oblique

ที่มา : http://www.onlinedesignteacher.com

  • แบบไอโซเมตริก (Isometric)เป็นแบบภาพ 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง มีแนวสันของวัตถุด้านหนึ่งตั้งฉากกับแนวเส้นระดับ ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศา กับเส้นระดับ ซึ่งการร่างภาพอาจทำได้โดยการขึ้นเส้นแกน เพื่อช่วยในการสร้างภาพไอโซเมตริก

2

ตัวอย่างภาพ Isometric

ดังนั้นการเขียนภาพร่าง 3 มิติ จะช่วยในการแสดงลักษณะรูปร่างและรูปทรงได้เหมือนของจริงมาก สามารถแสดงรายละเอียดได้ถึง  3  ด้าน เหมือนกับการได้เห็นชิ้นงานจริง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นการประกอบกันของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงาน และสามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของชิ้นงานนั้นได้ดียิ่งขึ้น และในการร่างภาพ 3 มิติ สามารถใช้กระดาษ      ไอโซเมตริกกริดช่วยในการร่างภาพได้

3

การร่างภาพ 3 มิติด้วยการใช้กระดาษไอโซเมตริกกริด

ภาพฉาย

ภาพฉาย เป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในแต่ละด้านของสิ่งที่จะสร้าง ตลอดจนมีรายละเอียดของแบบงานครบถ้วนสมบูรณ์ชัดจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปสร้างขึ้น ตามแบบได้อย่างถูกต้อง ภาพฉายยังสามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ เช่น รูปร่าง ขนาด และผิวงาน ประกอบด้วยภาพด้านหน้า ด้านข้าง และภาพด้านบน แสดงขนาดด้านกว้าง ด้านยาว และความสูงหรือความลึกของชิ้นงานและหน่วยในการวัดขนาด เพื่อสามารถนำไปสร้างเป็นแบบจำลองหรือชิ้นงานของจริงได้

ในการเขียนภาพฉายส่วนใหญ่ จะเขียนหรืออ่านจากภาพไอโซเมตริก หรือ ภาพของจริง โดยการมองแต่ละด้านแล้วเขียนออกมาเป็นภาพฉาย 2 มิติ ตามภาพที่มองเห็น ซึ่งมีตำแหน่งการมองภาพดังนี้

4

การมองภาพในตำแหน่งต่าง ๆ

5

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ Isometric

7e659

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ

สื่อเสริมเนื้อหาบทเรียน

VDO สอนการเขียนภาพฉาย

 
 

การออกแบบเทคโนโลยี

การออกแบบเทคโนโลยี

            เป็นการออกแบบ เขียนแบบ สร้างหรือผลิตชิ้นงานต่างๆโดย ผ่านกระบวนการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในองค์ประกอบผลหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความสบรูณ์ในตนเอง มีความสวยงาม มีประโยชน์ในการใช้สอย ราคาประหยัด และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นได้ทุกระดับ เช่นอาคาร ทีี่พักอาศัย โทรศัพท์ โทรทัคน์ พัดลม คู้เย็น และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้ดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

  • กระบวนการออกแบบ

            เป็นกระบวนการทำงานของผู้ออกแบบที่ใช้ในการค้นคว้าหาคำตอบในการแก้ปัญหาในการออกแบบ เขียนแบบชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ สิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอน ดังนี้ 

งานนำเสนอ1

 
 

ประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยี

ประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยี

การนำกระบวนการเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถช่วยให้ผู้นำไปใช้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ง่ายขึ้น มองเห็นการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน ดังตารางต่อไปนี้

กระบวนการเทคโนโลยี ผลดีต่อการทำงาน
  ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ   ช่วยให้การศึกษาและการกำหนดปัญหามีความชัดเจน
  ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล   ช่วยให้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหาได้ครอบคลุม
  ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ   ช่วยให้ตัดสินใจเลือกแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสม
  ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ   ช่วยให้การสร้างชิ้นงานง่ายขึ้นและลดระยะเวลาในการสร้าง เพราะมีการออกแบบภาพร่างของการทำงาน ทำให้เห็นรายละเอียดของการทำงาน
  ขั้นที่ 5 ทดสอบ   ช่วยให้ทราบข้อบกพร่องของการทำงานก่อนนำไปปฏิบัติจริง
  ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข   ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
  ขั้นที่ 7 ประเมินผล   ช่วยตรวจสอบผลการทำงานว่าตรงกับปัญหาหรือความต้องการหรือไม่